27 กันยายน 2558

ผู้มีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน


  • อายุและเพศ เพศชายจะมีความเสี่ยงสูงกว่าเพศหญิง และผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ก็จะมีความเสี่ยงสูงกว่า ผู้ที่อายุน้อย
  • ดัชนีมวลกาย (BMI) ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานคือ ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย มากกว่าหรือเท่ากับ 23 kg/m2 (สำหรับคนเอเชีย) พบว่าในคนที่มีอายุ 20?39 ปี ถ้าน้ำหนักตัวเกินจะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า
  • เส้นรอบเอว ในคนไทยมาตรฐานเส้นรอบเอวโดยวัดที่ขอบบนของกระดูกเชิงกรานขณะหายใจออก
    เพศชาย น้อยกว่า 90 ซม.
    เพศหญิง น้อยกว่า 80 ซม.
  • ความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mmHg
  • ประวัติครอบครัว มีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือผู้ที่ต้องการจะทราบว่าตนเองมีความเสี่ยงจะเป็นเบาหวานหรือไม่ สามารถทดสอบโดยจะใช้เกณฑ์ประเมินความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานสำหรับคนไทยดังในตารางที่ 1

ตารางที่ 1.เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

          การทำการประเมินความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานซึ่งจะมีประโยชน์ในการคัดกรองผู้ป่วย และช่วยป้องกันโรค เมื่อทำการคำนวณคะแนนจากแบบประเมินคัดกรองความเสี่ยงแล้ว คะแนนจะอยู่ในช่วง 0 -17 คะแนน สามารถนำมาแปลผลได้ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2.การแปลผลจากการทำแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
*ควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที
**โดยให้น้ำหนักลงลง ร้อยละ 6 ของน้ำหนักตัว
นพท.กฤษฎิ์พงษ์ ศิริสารศักดา
เรียบเรียงโดย นพ.ปณิธาน ประดับพงษา