8 กันยายน 2558

ผู้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน

ผู้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน

ผู้มีอัตราความเสี่ยงสูงมาก
  • ญาติสายตรง (บิดา มารดา พี่ น้อง) เป็นโรคเบาหวาน
  • เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือคลอดบุตรน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กก. เคยแท้งหรือบุตรตายตอนคลอด
  • ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติถึงขั้นเบาหวาน (ระดับน้ำตาลขณะงดอาหารข้ามคืนอย่างน้อย 8 ชั่วโมงอยู่ระหว่าง 100-125 มก./ดล.) หรือมีความทนต่อน้ำตาลบกพร่อง
  • ผู้ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดที่เท้าตีบ
  • กลุ่มอ้วนลงพุง (metabolic syndrome)
ผู้มีภาวะเสี่ยงอื่นๆ
  • น้ำหนักจัดอยู่ในเกณฑ์โรคอ้วน
  • ผู้มีความดันโลหิตสูง (มากกว่า 140/90 มม.ปรอท)หรือได้รับยาลดความดันโลหิต
  • ผู้มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ตั้งแต่ 250 มก./ดล. หรือมีไขมันชนิดดี (เอชดีแอล คอเรสเตอรอล) น้อยกว่า 35 มก./ดล.
  • หญิงตั้งครรภ์ทุกราย (อายุครรภ์ระหว่าง 24-28 สัปดาห์)
  • ผู้อายุเกิน 35 ปี ถ้าตรวจระดับน้ำตาลในเลือดขณะงดอาหารแล้วปกติ ให้ตรวจทุก 3 ปี
สาเหตุและโอกาสที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน
  • ความอ้วนและการไม่ออกกำลังกาย ทำให้การตอบสนองของเนื้อเยื่อร่างกายต่ออินซูลินไม่ดี
  • อายุ การสังเคราะห์และการหลลั่งฮอร์โมนอินซูลินจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น
  • ความผิดปกติของตับอ่อน เช่น การอักเสบของตับอ่อนจากการดื่มสุรา การตัดตับอ่อนบางส่วน ฯลฯ
  • การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น หัดเยอรมัน ที่มีผลต่อตับอ่อน ทำให้การทำงานลดประสิทธิภาพลง
  • การได้รับยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ยากันชัก ทำให้มีการสร้างน้ำตาลมากขึ้นจากตับ หรือทำให้การตอบสนองของอินซูลินที่กล้ามเนื้อและเซลล์ไขมันไม่ดี
  • การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงที่มีฮอร์โมนจากรกหลายชนิดมีผลยับยั้งการทำงานของอินซูลิน