6 พฤศจิกายน 2558

ชาสมุนไพรควบคุมเบาหวาน

สมุนไพรควบคุมเบาหวาน MY LIFE


Mylife ชาสมุนไพร กล่องเขียว กล่องเล็ก สูตรความคุมเบาหวาน


Mylife กล่องเขียว(เล็ก) สูตรควบคุมเบาหวาน 
รวมคุณค่าของสมุนไพร 4 ชนิด ออแกนิค 100% 

1. สรรพคุณจากเจี่ยวกู่หลาน เจี่ยวกู่หลานเปรียบเสมือนสมุนไพร อายุวัฒนะ" และยิ่งไปกว่านั้นด้วยความที่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในกระบวนการปลูกที่ใช้สารเคมี จึงทำให้เป็นพืชออแกนิคตามธรรมชาติแบบ 100% สรรพคุณช่วยลดความดัน ชลอความแก่ ช่วยปรับระดับคอเลสเตอรอล ความจำฟื้นคืนปกติ ช่วยให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น และทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารมากยิ่งขึ้น ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ลดระดับน้ำตาลในเลือด ฯลฯ

2.ใบหม่อน ใช้ใบทำชามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ใบหม่อนมีสารดีอ็อกซิโนจิริมายซิ น (Deoxynojirimycin) ซึ่งสารนี้มีผลในการลดระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึง GABA ที่มีคุณสมบัติในการลดความดันโลหิต. ใบหม่อนมี แร่สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายโดยรวมสูงกว่าใบชาอื่นๆ เช่น แคลเซียม โปแตสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี วิตามินเอ วิตามินบี ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลในลำไส้เล็ก ทำให้กระแสเลือดหมุนเวียนดี และ หลอดเลือดแข็งแรง ยับยั้งการเกิดสารก่อมะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่

3.เห็ดหลินจือช่วยรักษาความดันสูงและต่ำ ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ชะลอความแก่ก่อนวัย ช่วยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงขึ้น ให้พลังชีวิตมากขึ้น ทั้งยังรักษาอาการเป็นลมบ่อย น้ำตาลในเส้นเลือดสูงเส้นเลือดอุดตัน โรคกระเพาะลำไส้เป็นแผล ประโยชน์ของเห็ดหลินจือช่วยรักษาโรคเกาต์ ช่วยส่งเสริมระบบการไหลเวียนของเลือดให้ดียิ่งขึ้น

4.ใบหญ้าหวานช่วยเพิ่มกำลัง ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น ช่วยในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน ช่วยให้ความหวานแทนน้ำตาล และยังสามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดด้วย

เลขที่ อย. 74-2-00258-2-0008

ขนาดบรรจุภัณฑ์


1 กล่อง(เล็ก) มี 10 ห่อ / ห่อละ 4 กรัม

ส่วนผสม

1.เจียวกู่หลาน 68%
2.ใบหม่อน 20%
3.เห็ดหลินจือ 10%
4.ใบหญ้าหวาน 2%

น้ำหนักสุทธิ 40 กรัม


เห็ดหลินจือควบคุมเบาหวาน

ควบคุมเบาหวาน LINHZHIMIN


          Linhzhimin (หลินจือมิน) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญอย่าง เห็ดหลินจือแดง สายพันธุ์ Ganoderma Lucidum ผนวกเข้ากับวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ช่วยเพิ่มพลังกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ต้านมะเร็ง ควบคุมความดันโลหิต ภูมิแพ้ ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงตับและไต ช่วยให้นอนหลับง่าย รักษาโรคแน่นหน้าอก บำรุงหัวใจ เหมาะสำหรับวัยทำงาน และผู้สูงอายุ หากรับประทานเป็นประจำจะทำให้มีสุขภาพแข็งแรง มีอายุวัฒนะ 

คุณสมบัติ
·         - ลดอัตราเสี่ยงการเกิดความดันโลหิตสูงและความดันต่ำ
·         - ลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคภูมิแพ้และหลอดลมอักเสบ
·         - มีส่วนช่วยในการบำรุงตับและไต
·         - มีส่วนช่วยทำให้นอนหลับง่ายขึ้น
·         - มีส่วนช่วยในการบำรุงดูแลตับ
·         - ลดอัตราเสี่ยงการเกิดอาการแพ้ เช่น โรค หืด หอบ หลอดลมอักเสบ
·         - มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลการทำงานของฮอร์โมนต่างๆ
   -  ลดอัตราเสี่ยงในการเสื่อมสลายของเซลล์ เนื้อเยื่อ



หลินจือมิน : สารสกัดรูปแบบเจล + วิตามินแร่ธาตุ ดูดซึมง่าย ร่างกายได้รับประโยชน์เต็มที่ ใช้เวลาเพียง 5-15 นาที ดูดซึมได้ 80 – 100 %

เห็ดหลินจือสกัด
·         - มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
·         - มีสารต้านอนุมูลอิสระ
·         - ลดอัตราเสี่ยงการเกิดความดันโลหิต
·         - มีส่วนช่วยในการล้างสารพิษ
·         - มีส่วนช่วยในการดูแลบำรุงตับ บำรุงไต
·         - มีส่วนช่วยในการแก้อาการปวด คลายกล้ามเนื้อ

วิตามิน E
·         - มีสารต้านอนุมูลอิสระ
·         - ลดอัตราเสี่ยงการก่อตัวของเกร็ดเลือด (สาเหตุโรคหัวใจ)
·         - มีส่วนช่วยในการเพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือด
·         - มีส่วนช่วยในการดูแลระดับน้ำตาลในเลือด

วิตามิน B2 : 
    - มีสารต้านอนุมูลอิสระ
    - เบต้า-แคโรทีน : มีสารต้านอนุมูลอิสระ
    - เฟอรัส ฟูมาเรต : ลดอัตราเสี่ยงจากโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
    - ซิงค์ ออกไซด์ : มีส่วนช่วยในการเพิ่มประสิทธิในการทำงานของอินซูลิน
    - แมงกานีสซัลเฟต
·         - มีส่วนช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของอินซูลิน
·         - มีส่วนช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง
·         - มีส่วนช่วยในการควบคุมการทำงานของเอ็นไซม์

แมกนีเซียมสเตียเรต : 
    - มีส่วนช่วยในการดูแลระบบประสาท และระบบสืบพันธุ์
    - บีแวกซ์ , น้ำมันปาล์ม , น้ำมันถั่วเหลือง
    - มาตรฐาน และการรับรองคุณภาพ
    - ผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือแดงสกัดตรา หลินจือมินผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีมาตรฐาน และได้รับการรับรองคุณภาพจาก 
GMP from Korean Food and Drug Administration IIC HACCP



ข้อมูลสำคัญ 
ขนาดรับประทาน: ครั้งละ 1 แคปซูล ก่อนอาหารเช้า-เย็น 
ขนาดบรรจุ : 1 กล่องมี 12 แผง แผงละ 5 แคปซูล รวม 60 แคปซูล
เลขที่จดทะเบียน อย. : 103-25952-1-0001
การเก็บรักษา : เก็บให้พ้นแสงแดด

ข้อควรระวัง
สำหรับผู้ที่รับประทานเห็ดหลินจือใหม่ ๆ นั้น อาจจะรู้สึกมีอาการปัสสาวะบ่อย ถือเป็นปฏิกิริยาปกติของการบำบัดด้วยยาสมุนไพรแผนโบราณ เนื่องจากเมื่อตัวยาได้เริ่มเข้าไปบำบัดนั้น จะเข้าไปชะล้างสิ่งที่เป็นพิษ อาการเช่นนี้จะเกิดขึ้นระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 2-3 วัน หรือประมาณ 1 อาทิตย์




ชาสมุนไพรควบคุมเบาหวาน

ชาสมุนไพรควบคุมเบาหวาน Cornex H-Tea


ข้อมูลสินค้า

- สมุนไพรใบหม่อนมีสารเคมีทำหน้าที่คล้ายกับยาที่แพทย์ใช้รักษาผู้ป่วยเบาหวาน มีส่วนช่วยชะลอระบบการย่อยน้ำตาลในลำไส้ให้ทำงานช้าลง เพื่อให้การดูดซึมของน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดเป็นไปอย่างช้าๆ รวมทั้งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดอีกด้วย

-
สมุนไพรเจี่ยวกู่หลาน จะเป็นตัวที่ช่วยลดระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือด รวมทั้งมีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือด

-
มีผลการวิจัยแนะนำว่า การใช้น้ำมันดอกคำฝอยมาประกอบอาหาร มีส่วนช่วยปรับระดับคลอเรสเตอรอลไขมันและระดับน้ำตาลในกระแสเลือด รวมถึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งกับผู้ที่รักษาหุ่นและสุขภาพ

-
ใบบัวบก มีส่วนช่วยให้ร่างกายของเรามีระบบภูมิคุ้มที่ดี มีส่วนช่วยในการรักษาความดันโลหิตสูง รวมทั้งเป็นยาปฏิชีวนะ และมีส่วนช่วยในการรักษาบาดแผล ช่วยปรับระบบการไหลเวียนของกระแสเลือดให้อยู่ในระดับปรกติ

-
ผลการวิจัย พบว่า เห็ดหลินจือ ทำหน้าที่คล้ายกับสารอินซูลิน มีส่วนช่วยในการเพิ่มอินซูลิน ช่วยตับอ่อนในการสร้างสารอินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพภาพและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นอกจากนี้ การรับประทานเห็ดหลินจือยังไม่ส่งผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยเบาหวานแต่อย่างใด

27 กันยายน 2558

วันเบาหวานโลก



    โรคเบาหวานถูกจัดให้เป็นสาเหตุของการตายเป็นอันดับ ๓ ของโรคไม่ติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิต โรคแทรกซ้อนที่สำคัญของผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นสาเหตุของการตาย คือ โรคไตวาย โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน นอกจากนี้ผู้ป่วยเป็นเบาหวานมีโอกาสตาบอด เนื่องจากจอประสาทตาเสื่อมสูงกว่าคนปกติถึง ๒๕ เท่า และมีโอกาสถูกตัดขาด เนื่องจากเกิดแผลตายเน่าที่เท้ามากกว่าคนปกติถึง ๔๐ เท่า 
              มีประชากรกว่า ๑๐๐ ล้านคนทั่วโลกป่วยเป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะในเอเชีย มีจำนวนถึง ๕๐ ล้านคน ทำให้แต่ละประเทศต้องใช้งบประมาณด้านสาธารณสุขประมาณ ๕% ต่อปี เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาดูแลเบาหวานซึ่งโดยทั่วไปแล้วไม่ใช่ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับยารักษาโรคเบาหวาน แต่เป็นค่าใช้จ่ายในการควบคุมรักษาโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคไตวาย การฟอกไต การเปลี่ยนไต โรคอัมพาต ตาบอด รวมทั้งการที่ต้องถูกตัดขา เนื่องจากโรคเบาหวาน ซึ่งก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
              ดังนั้นองค์การอนามัยโลกและสมาพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ จึงจัดให้มีวันเบาหวานโลกขึ้นเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๙๑ และกำหนดให้วันที่ ๑๔ พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันเบาหวานโลก เพื่อให้องค์กรสาธารณสุขทั่วโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน โดยชักชวนให้หน่วยงานสาธารณสุขทั่วโลกจัดกิจกรรมส่งเสริม สนับสนุน ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน ควบคุมและรักษาโรคเบาหวานให้กับประชาชนทั่วไป
            สำหรับโรคเบาหวานในประเทศไทยนั้น จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า อัตราการตายของผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นตามลำดับ โดยในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ พบว่ามีผู้ป่วยโรคเบาหวานตาย ๓,๕๘๓ คน สูงขึ้นเป็น ๒ เท่าของปี พ.ศ. ๒๕๓๑ และในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ มีผู้เสียชีวิตจากโรคไตวาย รวม ๔,๖๔๑ คน
            ผู้มีอาการผิดปกติที่น่าสงสัยว่าจะเป็นโรคเบาหวาน คือ ผู้ที่มีอาการปัสสาวะบ่อย และมีปริมาณมาก กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อย กินจุแต่ผอมลง น้ำหนักลดและอ่อนเพลียผิดปกติ เป็นแผลฝีหายยาก คันผิวหนังและอวัยวะสืบพันธุ์ ตาพร่ามัว
            ผู้ที่เป็นเบาหวานสามารถรักษาและควบคุมไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้โดยการควบคุมอาหาร และควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ ควรน้อยกว่า ๑๔๐ มิลลิกรัม/เดซิลิตร และออกกำลังกายสม่ำเสมอ บางรายอาจต้องรับประทานยาหรือฉีดอินซูลินภายใต้การดูแลของแพทย์
            สำหรับผู้ที่ต้องการฉีดอินซูลิน ในปัจจุบันได้มีการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาพัฒนาอุปกรณ์การฉีดอินซูลินให้ทันสมัยขึ้น โดยใช้ปากกาฉีดอินซูลิน (NovoPen) แทนกระบอกฉีดยา ซึ่งเป็นทางเลือกในการฉีดอินซูลินที่ง่าย สะดวก ขนาดยาที่ได้ถูกต้องแม่นยำขึ้น ทั้งยังเจ็บน้อยมากขณะฉีดยา อีกทั้งสามารถพกพาอินซูลินไปฉีดตามสถานที่ต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องแช่เย็นทำให้การฉีดยาไม่เป็นปัญหากับผู้ป่วยอีกต่อไป ทำให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมและดูแลเบาหวานได้ดีขึ้น



การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน


แนวทางการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน

อาหาร
               การบริโภคอาหารที่มากเกินควรและ/หรือสัดส่วนไม่พอเหมาะจะมีผลต่อระดับน้ำตาลและการเกิดโรคแทรกซ้อน การกําหนดอาหารสําหรับผู้ป่วยเบาหวาน มีจุดมุ่งหมายที่สําคัญ คือ
  1. เพื่อให้ได้พลังงาน (แคลอรี) ที่พอเหมาะแก่ร่างกายทําให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ไม่อ้วนหรือผอมเกินไป
  2. เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบทุกประเภท รวมทั้งวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ
  3. เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด
  4. เพื่อป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน
               มีการกําหนดอาหารเบาหวานโดยสมาคมเบาหวานแห่งประเทศไทยและชมรมนักกำหนดอาหารประกอบด้วย พลังงานจากคาร์โบไฮเดรต 50-60% พลังงานจากไขมัน 25% พลังงานจากโปรตีน 15-20% สิ่งสําคัญสําหรับอาหารเบาหวานคือ จํานวนแคลอรี่ทั้งหมดต่อวันจะต้องพอเหมาะไม่มากเกินไป คาร์โบไฮเดรตที่ใช้ควรจะเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งได้แก่ เมล็ดข้าว ธัญพืช และแป้ง ควรหลีกเลี่ยงของหวานและเครื่องดื่มรสหวานทุกชนิด รวมทั้งเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ของหวานที่ทานได้ควรเป็นผลไม้สดในปริมาณที่พอเหมาะ

การออกกำลังกาย
               การรักษาโรคเบาหวานนอกจากการรักษาด้วยยาและการควบคุมอาหารแล้ว การออกกําลังกายนับว่ามีความสําคัญและได้ผลดีอีกวิธีหนึ่ง การออกกําลังกายที่เหมาะสมและถูกต้องอย่างสม่ำเสมอร่วมกับการควบคุมอาหารและการใช้ยาที่เหมาะสม ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีแต่ยังสามารถป้องกันและลดภาวะแทรกซ่อนที่จะเกิดตามมาได้ด้วย โดยเฉพาะถ้าเริ่มออกกําลังกายแต่เนิ่น ๆ ตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ การได้รับความรู้ความเข้าใจในการออกกําลังกายในผู้ป่วยโรคเบาหวาน จึงเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเป็นการป้องกันและลดอันตรายที่อาจเกิดจากการออกกําลังกายที่ไม่เหมาะสมได้

ชนิดของการออกกําลังกาย
  • การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (aerobics exercise) เป็นการกระตุ่นให้ร่างกายเผาผลาญกลูโคสด้วยขบวนการที่ใช้ออกซิเจนเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นการฝากร่างกายด้วยการกระตุ้นให้ระบบหลอดเลือดหัวใจและปอด มีการนําส่งออกซิเจนไปให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อรอบๆ มากขึ้น มีการเผาผลาญไขมันมากขึ้น ตัวอย่างการออกกําลังกายแบบแอโรบิค เช่น การเต้นแอโรบิค เดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ ถีบจักรยานอยู่กับที่ ว่ายน้ำหรือเดินในน้ำ รํามวยจีน การบริหารร่างกายด้วยท่าต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการออกกําลังกายแบบแอโรบิคนี้จะใช่กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ๆ ในแขนขาและลําตัว ควรออกำลังกายอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 20 นาทีขึ้นไป
  • การออกกำลังเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (strengthening exercise) และความยืดหยุ่นของร่างกาย (flexibility) ด้วยการยืดกล้ามเนื้อ (stretching exercise) ร่วมด้วย เพื่อให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงเพียงพอที่จะออกกําลังกายได้นานเท่าที่ต้องการและไม่เกิดการบาดเจ็บได้ง่าย การยืดกล้ามเนื้อควรจะทําก่อนการออกกําลังกายแบบอบอุ่นร่างกาย (warm up) และเมื่อหลังจากการออกกําลังกายผ่อน (cool down) จึงจะได้ผลดี สามารถทําได้ทุกวันแม้ว่าวันนั้นจะไม่ได้ออกกําลังกายก็ตาม ข้อควรระวังสําหรับการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่ต้องใช้แรงต้านหรือยกน้ำหนักจะมีข้อพึงระวังในคนที่ตรวจพบว่ามีโรคหัวใจและภาวะหลอดเลือดผิดปกติที่จอตาเกิดขึ้นแล้ว การออกกำลังกายแบบนี้อาจทําให้เป็นอันตรายต่อหัวใจหรือมีเลือดออกในลูกตาได้ขณะที่เกร็งกล้ามเนื้อเพื่อต้านแรงน้ำหนักไม่ควรกลั้นลมหายใจ เพราะจะทําให้เพิ่มความดันในช่องทรวงอก ซึ่งมีผลต่อความดันโลหิตที่อวัยวะต่าง ๆ ใกล้เคียงกัน เช่น ในเบ้าตาหรือสมองได้
               ในระยะแรกควรเริ่มออกกําลังนานเท่าที่จะทําได้โดยไม่เหนื่อยจนเกินไปและค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนสามารถออกกำลังได้นานอย่างน้อย 20-30 นาที แต่ไม่ควรนานเกิน 1 ชั่วโมง ควรออกกําลังกาย 5 วัน ต่อสัปดาห์สําหรับผู้ที่ไม่เคยออกกําลังกายมาก่อนเลยหรือหยุดการออกกําลังกายไปนานแล้ว โดยทั่วไปควรจะเริ่มออกกำลังกายเบาๆ ก่อน ต่อไปจึงค่อย ๆ เพิ่มความหนักให้มากขึ้นทีละน้อย การออกกําลังกายที่เหมาะสมร่วมกับรับประทานอาหารที่ถูกหลักสมดุลและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอนอกจากจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติแล้วยัง ทําให้ผู้ป่วยสามารถดํารงชีวิตอย่างปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้

Reference
  1. มินตรา สาระรักษ์. แนวทางการสร้างเสริมสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดไม่พึ่งอินซูลิน. วารสารวิชาการ ม.อบ. ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2551
  2. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ. การประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2551.กรุงเทพฯ,หน้า 1-4
  3. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางการคัดกรอง กานวินิจฉัยโรคเบาหวาน และการประเมินทางคลินิคเมื่อแรกวินิจฉัย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2551.กรุงเทพฯ,หน้า 5 - 11
  4. American diabetes association. Economic costs of diabetes in the U.S. in 2007. Diabetes Care 31:1?20, 2008.
  5. Sarah W., MB B., Gojka R., et al. Global Prevalence of Diabetes (estimates for the year 2000 and projections for 2030). Diabetes Care 27:1047?1053, 2004.
นพท.กฤษฎิ์พงษ์ ศิริสารศักดา
เรียบเรียงโดย นพ.ปณิธาน ประดับพงษา

ผู้มีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน


  • อายุและเพศ เพศชายจะมีความเสี่ยงสูงกว่าเพศหญิง และผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ก็จะมีความเสี่ยงสูงกว่า ผู้ที่อายุน้อย
  • ดัชนีมวลกาย (BMI) ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานคือ ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย มากกว่าหรือเท่ากับ 23 kg/m2 (สำหรับคนเอเชีย) พบว่าในคนที่มีอายุ 20?39 ปี ถ้าน้ำหนักตัวเกินจะมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานมากกว่าคนปกติถึง 2 เท่า
  • เส้นรอบเอว ในคนไทยมาตรฐานเส้นรอบเอวโดยวัดที่ขอบบนของกระดูกเชิงกรานขณะหายใจออก
    เพศชาย น้อยกว่า 90 ซม.
    เพศหญิง น้อยกว่า 80 ซม.
  • ความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mmHg
  • ประวัติครอบครัว มีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน
  • ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหรือผู้ที่ต้องการจะทราบว่าตนเองมีความเสี่ยงจะเป็นเบาหวานหรือไม่ สามารถทดสอบโดยจะใช้เกณฑ์ประเมินความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานสำหรับคนไทยดังในตารางที่ 1

ตารางที่ 1.เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน

          การทำการประเมินความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานซึ่งจะมีประโยชน์ในการคัดกรองผู้ป่วย และช่วยป้องกันโรค เมื่อทำการคำนวณคะแนนจากแบบประเมินคัดกรองความเสี่ยงแล้ว คะแนนจะอยู่ในช่วง 0 -17 คะแนน สามารถนำมาแปลผลได้ดังตารางที่ 2

ตารางที่ 2.การแปลผลจากการทำแบบประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
*ควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที
**โดยให้น้ำหนักลงลง ร้อยละ 6 ของน้ำหนักตัว
นพท.กฤษฎิ์พงษ์ ศิริสารศักดา
เรียบเรียงโดย นพ.ปณิธาน ประดับพงษา


8 กันยายน 2558

เป้าหมายของการควบคุมโรคเบาหวาน

เป้าหมายของการควบคุมโรคเบาหวาน


       เปาหมายการควบคุมโรคเบาหวาน ผูปวยเบาหวานมักมีปจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดแข็งอื่นๆร่วมดวยจึงตองทําการให้การรักษารวมไปด้วยเสมอ

       เปาหมายการควบคุมตามคําแนะนําของสมาคมโรคเบาหวานแหงสหรัฐอเมริกา
1. น้ําตาลกอนอาหาร (มก./ดล.) 90-130
2. น้ําตาลหลังอาหาร 2 ชั่วโมง (มก./ดล.) <180
3. น้ําตาลเฉลี่ย HbA1C (%) <7
 4. โคเลสเตอรอล (มก./ดล.) <180
5. เอช ดีแอลโคเลสเตอรอล (มก./ดล.) >40
6. แอลดีแอลโคเลสเตอรอล (มก./ดล.) <100
7. ไตรกลีเซอไรด (มก./ดล.) <150
8. ดัชนีมวลกาย (กก/ตรม.) <23
9. ความดันโลหิต (มม.ปรอท) <130/80
10. ออกกําลังกาย (นาท/ีสัปดาห) 150

       การกําหนดเปาหมายอาจไดรับการพิจารณาในรายละเอียดเฉพาะในผูปวยแตระรายโดยคํานึงถึง อายุสภาวะรางกายและ ภาวะแทรกซอนตางๆท ี่ เกิดขึ้น แมโรคเบาหวานรักษาไม่หายขาดแต่สามารถควบคุมไดซึ่งจะชวยปองกันหรือชะลอการเกิด ภาวะแทรกซอนทําใหผูปวยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและดําเนินชีวิตไดเหมือนคนปกติ

การวินิจฉัยว่าใครเป็นโรคเบาหวาน

การวินิจฉัยว่าใครเป็นโรคเบาหวาน



       วิธีการที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน มีเพียงวิธีเดียว คือการเจาะหาน้ำตาลในเลือด สำหรับคนปรกติแนะนำให้คนที่มีอายุมากกว่า 45 ปีควรจะเจาะเลือดทุกปี ถ้าหากปกติก็ให้เจาะทุก 3 ปี หากผู้ใดมีปัจจัยเสี่ยง ก็ควรที่เจาะเร็วขึ้นและบ่อยขึ้น คนปรกติจะมีค่าน้ำตาลในเลือด อยู่ระหว่า 80-100 มิลิกรัม% การวินิจฉัยโรคเบาหวานเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 126 มิลิกรัม%
       สำหรับผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระ 100-125 มิลิกรัม%เราเรียก Impaired fasing glucose [IFG] คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานจำเป็นต้องคุมอาการ รักษาน้ำหนัก ออกกำลังกาย สำหรับการตรวจปัสสาวะไม่แนะนำเพราะเราจะตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 180 มิลิกรัม%ซึ่งเป็นโรคเบาหวานไปเรียบร้อยแล้ว การตรวจเลือดเราสามารถตรวจได้หลายวิธีดังนี้

เกณฑ์ในการวินิจฉัยโรคเบาหวานมีดังนี้

  1. การวัดระดับกลูโคสในพลาสม่าหลังการอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง [fasting plasma glucose :FPG] แนะนำให้ใช้วิธีซึ่งสะดวกและแม่นยำ ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานเมื่อระดับน้ำตาลในเลือด [FPG] สูงกว่า 126มก.%[7.0 mmol/L] สองครั้ง
  2. การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส [ oral glucose tolerance test:OGTT] กรณีสงสัยว่าจะเป็นโรคเบาหวาน แต่ระดับพลาสม่ากลูโคสก่อนรับประทานอาหารไม่ถึง 126 มก.% ให้ตรวจโดยการดื่มน้ำตาลกลูโคส 75 กรัม เจาะเลือดก่อนดื่ม และ 2 ชั่วโมงหลังดื่ม วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานเมื่อระดับพลาสม่ากลูโคสที่ 2 ชั่วโมงมากกว่า 200 มก.%ขึ้นไป หากอยู่ระหว่า 140-199มก.%ถือว่าความทนทานต่อน้ำตาลบกพร่อง ( impaired glucose tolerance test) หากต่ำกว่า 140 มก%ถือว่าปกติ
  3. การสุ่มวัดระดับกลูโคสในพลาสมา [random plasma glucose:RPG] โดยไม่กำหนดเวลาอดอาหาร ใช้ค่ามากกว่า 200 มก.%และมีอาการของโรคเบาหวาน เนื่องจากมีความแม่นยำต่ำจึงไม่นิยมหาก หากพบว่าค่ามากกว่า 200 มิลิกรัม%จะต้องนัดมาเจาะน้ำตาลก่อนอาหาร หรือทำการตรวจ การวัดความทนทานน้ำตาลกลูโคส OGTT อาจจะตรวจในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคเบาหวานมากจำเป็นต้องรีบให้การรักษา
  4. การใช้ระดับโปรตีนกลัยโคซัยเลต ได้แก่ glycosylate hemoglobin:HbA1c หากมีค่ามากกว่า 6.5 ให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
  5. ในกรณ๊ที่ค่า HbA1c>6.5 สองครั้งแต่ค่าน้ำตาลก่อนอาหาร FBS<126 mg% หรือค่าน้ำตาล FBS>126 แต่ค่า HbA1c<6.5 ทั้งสองกรณีให้วินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
สำหรับการตรวจหากลูโคสในปัสสาวะไม่นิยมเพราะผิดพลาดได้ง่าย

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานมีดังต่อไปนี้
  1. น้ำตาลในเลือดเมื่ออดอาหาร(FPG)อยู่ระหว่าง 100–125 mg/dl
  2. ค่าน้ำตาลหลังจากดื่มน้ำตาล 75 กรัมที่ 2 ช.ม. อยู่ระหว่าง( OGTT) 140–199 mg/dl
  3. ค่าน้ำตาลเฉลี่ย(HA1C) อยู่ระหว่าง 5.7–6.4%
ในการตรวจหากลูโคสในกระแสเลือดควรคำนึงถึงยาที่ทำให้น้ำตาลสูงขึ้นเช่น steroid,thiazide,nicotinic acid,beta-block,ยาคุมกำเนิด

ภาวะน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ภาวะน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยโรคเบาหวาน


       ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือ “ไฮโปไกลซีเมีย” (Hypoglycemia) เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลต่ำกว่าช่วงค่าที่กำหนดไว้

สาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • ทานอาหารน้อยเกินไป
  • ทานคาร์โบไฮเดรตในปริมาณน้อยเกินไป
  • เริ่มทานอาหารมื้อหลักหรืออาหารว่างล่าช้ากว่าที่ควร
  • งดอาหารมื้อหลักหรืออาหารว่าง
  • ออกกำลังกายหักโหมหรือนานกว่าปกติ
  • ฉีดอินซูลินหรือทานยาเบาหวานชนิดเม็ดมากเกินไป
  • ป่วย
  • ดื่มแอลกอฮอล์ในขณะท้องว่าง
       สัญญาณเตือนภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมีหลายประการ และอาการอันเป็นสัญญาณเตือนที่เกิดกับคุณก็อาจต่างไปจากที่เกิดกับผู้อื่น ดังนั้นจึงต้องเรียนรู้อาการเตือนระยะแรกของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่เกิดกับคุณด้วยตัวเองและบอกให้ผู้อื่นทราบเพื่อช่วยสังเกตอาการ อาการเหล่านี้ได้แก่
โมโหฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย ปวดมวนท้อง กระวนกระวาย วิงเวียนศีรษะ ง่วงเหงาหาวนอน ตัวเย็น กระสับกระส่ายไม่สบายใจ มีอาการชา เหงื่อออก สับสน ตัวซีด เครียด หิว ซึมเศร้า เหนื่อยล้า มีอาการสั่น อ่อนแรง ตาพร่ามัว ปากแห้ง ปวดศีรษะ หรือหัวใจเต้นแรง
หากคุณมีอาการดังกล่าว จำเป็นต้องรีบบำบัดทันที ไม่เช่นนั้นคุณอาจหน้ามืดเป็นลมได้ และที่เลวร้ายไปกว่านั้นคืออาจหมดสติ เข้าสู่ภาวะโคม่า และถึงกับเสียชีวิตได้

วิธีบำบัดรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำด้วยตนเอง
  1. ตรวจระดับน้ำตาลด้วยเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ......หากค่าน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าช่วงค่าเป้าหมาย...
  2. รับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาร์โบไฮเดรตประมาณ 15 กรัม (รายชื่ออาหารและเครื่องดื่มบางส่วน)
  3. รอ 15 -20 นาที แล้วทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอีกครั้ง
       หากระดับค่าน้ำตาลในเลือดยังอยู่ต่ำกว่าช่วงค่าเป้าหมายหลังทำตามขั้นตอนที่ 2 และ3 แล้ว ควรโทรหาแพทย์ประจำตัวคุณและไปโรงพยาบาลพร้อมผู้ช่วยเหลืออีกสักหนึ่งท่าน

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ให้ผู้อื่นช่วยดูแล
       บางครั้งคุณอาจไม่สามารถดูและและบำบัดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำได้ด้วยตนเอง คุณอาจไม่ทันสังเกตอาการอันเป็นสัญญาณเตือนที่เกิดขึ้น หรือระดับน้ำตาลที่ต่ำอาจจะทำให้คุณรู้สึกสับสนจนทำอะไรไม่ถูก ไม่ว่าจะด้วยเหตุใด คุณควรจะสอนให้ใครสักคนรู้วิธีที่จะช่วยเหลือคุณในภาวะนั้นเสียแต่เนิ่นๆ
ควรมีอาหารสำหรับบำบัดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำไว้ใกล้ตัวตลอดเวลา เช่น น้ำผลไม้กล่องเล็กๆ กลูโคสชนิดเม็ด และอย่าลืมบอกให้คนอื่นรู้ว่าของเหล่านี้อยู่ที่ได
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง หรือ”ไฮเปอร์ไกลซีเมีย” (Hyperglycemia) เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลต่ำกว่าช่วงค่าที่กำหนดไว้

สาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
  • ทานอาหารมากเกินไป
  • ฉีดอินซูลินในปริมาณน้อยเกินไป
  • ทานยาเบาหวานชนิดเม็ดน้อยเกินไป
  • ป่วย
  • งดการออกกำลังกายที่เคยทำตามปกติ
  • เครียด
  • ไม่ได้ฉีดอินซูลินที่ใช้อยู่
  • ไม่ได้ทานยาเบาหวานชนิดเม็ดที่ใช้อยู่
       สาเหตุเหล่านี้ประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการรวมกันอาจส่งผลให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ อาการอันเป็นสัญญาณเตือน อาจไม่ชัดเจนหรือคุณอาจคิดว่าเป็นอาการจากสาเหตุอื่น ดังนั้น การตรวจน้ำตาลในเลือดจึงเป็นวิธีดีที่สุดที่จะทำให้คุณรู้ได้ว่าระดับน้ำตาลในเลือดขณะนั้นอยู่ในช่วงที่เหมาะสมหรือไม่
สัญญาณเตือนภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มีหลายอย่าง เช่น รู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนล้า อยากอาหารเพิ่มขึ้น กระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย สายตาพร่ามัว ปวดมวนท้อง ผิวแห้งและคัน เป็นแผลเรื้อรังหายช้า มีอาการปวดเมื่อยตัวเหมือนจะเป็นไข้หวัด ปวดศีรษะ ลมหายใจมีกลิ่นรุนแรง
ถามตัวเองว่า "ทำไม" หากคุณพบว่าระดับน้ำตาลในเลือดของคุณสูงเกินไป ให้แก้ปัญหาด้วยการตั้งคำถามเหล่านี้กับตนเอง
  • ได้เปลี่ยนตารางอาหารหรือรับประทานอาหารที่แตกต่างๆไปจากปกติหรือไม่
  • ได้งดหรือลดการออกกำลังกายไปหรือไม่
  • ลืมทานยา ทานยามากเกินไปหรือน้อยเกินไป หรือ ทานยาไม่ตรงเวลา หรือไม่
  • กำลังเครียดกับเรื่องอะไรอยู่หรือเปล่า
  • กำลังเจ็บป่วยหรือมีอาการอักเสบติดเชื้ออยู่หรือไม่
       การตอบคำถามเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูงไม่ให้เกิดขึ้นอีกได้ในอนาคต การป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจะช่วยไม่ให้เกิดอาการที่รุนแรงยิ่งกว่า ซึ่งเรียกว่า “ภาวะกรดคีโตน” หรือ “คีโตแอซิโดซิส” (Ketoacidosis) ระดับน้ำตาลในเลือดสูงที่ไม่ได้รับการบำบัดอาจนำไปสู่การเกิดภาวะกรดคีโตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1

ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ป้องกันได้
  • ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์
  • ปฏิบัติตามตารางรับประทานอาหาร
  • ออกกำลังกายตามตารางที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ
  • พยายามลดความเครียดในชีวิตลง
  • รักษาภาวะติดเชื้อหรือการเจ็บป่วยในทันที
  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
วิธีบำบัดรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าช่วงค่าเป้าหมาย
1. ปฏิบัติตามคำแนะนำที่แพทย์เคยให้ไว้ แพทย์อาจแนะนำให้คุณ
      - ใช้อินซูลินออกฤทธิ์สั้นในปริมาณเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากที่ใช้อยู่ปกติ
      - ออกกำลังด้วยการเดินหรือวิธีอื่นๆ
      - ลดปริมาณอาหารว่างมื้อถัดไปลง
      - ดื่มเครื่องดื่มปราศจากน้ำตาล
2. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดครั้งต่อไปหลังจากผ่านไป 1-2 ชั่วโมง
หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 240 มก. / ดล ควรตรวจหาคีโตนในปัสสาวะ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอาจทำให้เกิดการก่อตัวของสารคีโตน

ผู้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน

ผู้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน

ผู้มีอัตราความเสี่ยงสูงมาก
  • ญาติสายตรง (บิดา มารดา พี่ น้อง) เป็นโรคเบาหวาน
  • เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือคลอดบุตรน้ำหนักแรกคลอดมากกว่า 4 กก. เคยแท้งหรือบุตรตายตอนคลอด
  • ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติถึงขั้นเบาหวาน (ระดับน้ำตาลขณะงดอาหารข้ามคืนอย่างน้อย 8 ชั่วโมงอยู่ระหว่าง 100-125 มก./ดล.) หรือมีความทนต่อน้ำตาลบกพร่อง
  • ผู้ที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง และหลอดเลือดที่เท้าตีบ
  • กลุ่มอ้วนลงพุง (metabolic syndrome)
ผู้มีภาวะเสี่ยงอื่นๆ
  • น้ำหนักจัดอยู่ในเกณฑ์โรคอ้วน
  • ผู้มีความดันโลหิตสูง (มากกว่า 140/90 มม.ปรอท)หรือได้รับยาลดความดันโลหิต
  • ผู้มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ตั้งแต่ 250 มก./ดล. หรือมีไขมันชนิดดี (เอชดีแอล คอเรสเตอรอล) น้อยกว่า 35 มก./ดล.
  • หญิงตั้งครรภ์ทุกราย (อายุครรภ์ระหว่าง 24-28 สัปดาห์)
  • ผู้อายุเกิน 35 ปี ถ้าตรวจระดับน้ำตาลในเลือดขณะงดอาหารแล้วปกติ ให้ตรวจทุก 3 ปี
สาเหตุและโอกาสที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน
  • ความอ้วนและการไม่ออกกำลังกาย ทำให้การตอบสนองของเนื้อเยื่อร่างกายต่ออินซูลินไม่ดี
  • อายุ การสังเคราะห์และการหลลั่งฮอร์โมนอินซูลินจะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น
  • ความผิดปกติของตับอ่อน เช่น การอักเสบของตับอ่อนจากการดื่มสุรา การตัดตับอ่อนบางส่วน ฯลฯ
  • การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น หัดเยอรมัน ที่มีผลต่อตับอ่อน ทำให้การทำงานลดประสิทธิภาพลง
  • การได้รับยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ ยากันชัก ทำให้มีการสร้างน้ำตาลมากขึ้นจากตับ หรือทำให้การตอบสนองของอินซูลินที่กล้ามเนื้อและเซลล์ไขมันไม่ดี
  • การตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงที่มีฮอร์โมนจากรกหลายชนิดมีผลยับยั้งการทำงานของอินซูลิน

อาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

อาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

อาการเหล่านี้มักจะเกิดเมื่อเป็นโรคเบาหวาน อย่างน้อย 3 ปีแล้วไม่ได้รักษาอย่างจริงจัง
  • ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา (Diabetic retinopathy)เกิดจากการที่น้ำตาลเข้าไปใน endothelium ของ หลอดเลือดเล็กๆ ในลูกตา ทำให้หลอดเลือดเหล่านี้มีการสร้างไกลโคโปรตีนซึ่งจะถูกขนย้ายออกมาเป็น Basement membrane มากขึ้น ทำให้ Basement membrane หนา แต่เปราะ หลอดเลือดเหล่านี้จะฉีกขาดได้ง่าย เลือดและสารบางอย่างที่อยู่ในเลือดจะรั่วออกมา และมีส่วนทำให้ Macula บวม ซึ่งจะทำให้เกิด Blurred vision หลอดเลือดที่ฉีกขาดจะสร้างแขนงของหลอดเลือดใหม่ออกมามากมายจนบดบังแสงที่มาตกกระทบยัง Retina ทำให้การมองเห็นของผู้ป่วยแย่ลง ตาหรือจอตาเสื่อม หรือมองเห็นจุดดำลอยไปมา และอาจจะทำให้ตาบอดได้ในที่สุด
  • ภาวะแทรกซ้อนทางไตจากโรคเบาหวาน (Diabetic nephropathy)ไตมักจะเสื่อม จนเกิดภาวะไตวาย สภาพของหลอดเลือดเล็กๆ ที่ Glomeruli จะทำให้ Nephron ยอมให้ albumin รั่วออกไปกับ filtrate ได้ Proximal tubule จึงต้องรับภาระในการดูดกลับสารมากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นนานๆ ก็จะทำให้เกิด Renal failure ได้ ซึ่งผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายใน 3 ปี นับจากแรกเริ่มมีอาการ

  • ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic neuropathy) โรคเบาหวาน จะทำให้หลอดเลือดเล็กๆ ที่มาเลี้ยงเส้นประสาทบริเวณปลายมือปลายเท้าเกิดเสื่อมสภาพ ก็จะทำให้เส้นประสาทนั้นไม่สามารถนำความรู้สึกต่อไปได้ เช่นรู้สึกชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมือ เมื่อผู้ป่วยมีแผล ผู้ป่วยก็จะไม่รู้ตัว และไม่ดูแลแผลดังกล่าว ประกอบกับเลือดผู้ป่วยมีน้ำตาลสูง จึงเป็นอาหารอย่างดีให้กับเหล่าเชื้อโรค และแล้วแผลก็จะเน่า และนำไปสู่ Amputation ในที่สุด ในผู้ชายอาจมีภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ(impotence) เพิ่มเข้ามาอีกด้วย

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary vascular disease) โรคเบาหวาน เป็นตัวการที่จะเร่งให้เกิดการเสื่อมของหลอดเลือดทั่วร่างกายและเมื่อหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจเสื่อมสภาพจาก โรคเบาหวาน ประกอบกับการมีไขมันในเลือดสูง ก็จะส่งผลให้มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิด โรคหัวใจขาดเลือด แต่หากหลอดเลือดเกิดอุดตัน ก็จะเกิดอาการ กล้ามเนื้อหัวใจตาย ในผู้ป่วย โรคเบาหวาน บางราย กล้ามเนื้อหัวใจมีการทำงานน้อยกว่าปกติ คือ มีการบีบตัวน้อยกว่าปกติอันเนื่องมาจาก เส้นเลือดฝอยเล็กๆที่เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติจากโรคเบาหวาน ซึ่งจะทำการรักษาได้ยาก การรักษาที่ดีที่สุดคือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ปัญหาที่สำคัญมากอีกประการหนึ่งของผู้เป็นโรคเบาหวาน คือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจจะไม่แสดงอาการผิดปกติซึ่งจะบ่งชี้ว่าเป็นโรคหัวใจให้เห็นก่อน เช่นอาการเจ็บหน้าอก อันเป็นอาการเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคหัวใจทั่วไป ดังนั้นผู้เป็นโรคเบาหวาน บางรายอาจจะแสดงอาการครั้งแรกด้วยอาการที่รุนแรง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือ หัวใจล้มเหลว ทำให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้ช้ากว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้

  • โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease) ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดอัมพาตชนิดหลอดเลือดตีบได้สูง เพราะโรคเบาหวานจะทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้ง่าย โดยจะมีหลอดเลือดแข็งทั่งร่างกายและถ้าเป็นที่หลอดเลือดของสมอง ก็จะเกิดอัมพาตขึ้น โดยอัตราเสี่ยงของผู้ป่วยที่เป็น โรคเบาหวาน จะมีโอกาสเป็นอัมพาตได้สูงกว่าผู้ป่วยปกติ 2-4 เท่า โดยจะมีอาการเบื้องต้นสังเกตุได้จาก กล้ามเนื้อแขน ขาอ่อนแรงครึ่งซีกอย่างทันทีทันใดหรือเป็นครั้งคราว ใบหน้าชาครึ่งซีกใดซีกหนึ่ง พูดกระตุกกระตัก สับสนหรือพูดไม่ได้เป็นครั้งคราว ตาพร่าหรือมืดมองไม่เห็นไปชั่วครู่ เห็นแสงผิดปกติ วิงเวียน เดินเซไม่สามารถทรงตัวได้ กลืนอาหารแล้วสำลักบ่อยๆ มีอาการปวดศรีษะอย่างรุนแรงโดยอาการปวดมักจะเกิดในขณะที่เคร่งเครียด หรือมีอารมณ์รุนแรง

  • โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral vascular disease)

  • แผลเรื้อรังจากโรคเบาหวาน (Diabetic ulcer) คือเมื่อเกิดเป็นแผลตามร่างกายแล้วจะหายยากมาก

อาการของโรคเบาหวาน

อาการโรคเบาหวาน

    ผู้เป็นโรคเบาหวานจะมีอาการเบื้องต้นคือ
  1. ปวดปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้น เนื่องจากในกระแสเลือดและอวัยวะต่างๆมีน้ำตาลค้างอยู่มาก ไตจึงทำการกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวาน สังเกตุจากการที่มีมดมาตอมปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของการเรียก เบาหวาน

  2. ปัสสาวะกลางคืนบ่อยขึ้น

  3. กระหายน้ำ และดื่มน้ำในปริมาณมากๆต่อครั้ง

  4. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง

  5. เบื่ออาหาร

  6. น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมากมาก่อน อันเนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปสร้างพลังงานได้เต็มที่จึงต้องนำไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้ทดแทน

  7. ติดเชื้อบ่อยกว่าปรกติ เช่นติดเชื้อทางผิวหนังและกระเพาะอาหาร สังเกตุได้จากผู้เป็นโรคเบาหวานเมื่อเป็นแผลแล้วแผลจะหายยากกว่าคนปกติ

  8. สายตาพร่ามัวมองไม่ค่อยชัดเจน

  9. อาการชาไม่ค่อยมีความรู้สึก เนื่องมาจากโรคเบาหวานจะทำลายเส้นประสาทให้เสื่อมสมรรถภาพลงความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกจึงถดถอยลง

  10. อาจจะมีอาการของโรคหัวใจ และโรคไต

7 กันยายน 2558

เป้าหมายหลักของการรักษาโรคเบาหวาน




เป้าหมายหลักของการรักษาโรคเบาหวาน

       ระดับน้ำตาลที่เราตรวจกัน จริงๆ แล้วไม่ใช่เป้าหมายหลักของการรักษาโรคเบาหวาน แต่ที่เรากลัวกันเวลาคนเป็นโรคเบาหวานคือ การมีภาวะแทรกซ้อนบางอย่างเกิดขึ้น แบ่งออกได้หลายชนิด
1. Micro vascular Complication หรือภาวะหลอดเลือดขนาดเล็กที่มีปัญหา
2. Macro vascular Complication หรือภาวะหลอดเลือดขนาดใหญ่ที่มีปัญหา
3. ภาวะของน้ำตาลไม่ถูกนำไปใช้ มีพลังงานเหลือใช้ ร่างกายจะเปลี่ยนไปเป็นไขมัน ทำให้มีภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia)
4. เนื่องจากร่างกายไม่สามารถใช้แหล่งพลังงานหลักได้ คือ น้ำตาล ร่างกายต้องหาแหล่งพลังงานทดแทน ต้องใช้แหล่งโปรตีน ฉะนั้นคนที่เป็นเบาหวานระยะหนึ่ง จะมีปัญหากล้ามเนื้อลีบฝ่อลง หรือถ้าเป็นมากมีภาวะเสียสมดุลมากๆ ทำให้เลือดเป็นกรดมาก จะทำให้เกิดภาวะช็อคได้ เรียกว่า Diabetic ketoacidosis (DKA) หรือ Hyperosmolar coma หมดสติไปได้
5. นอกจากน้ำตาลที่สูงมากจะมีผลต่อการทำงานเม็ดเลือดขาวบางชนิด ทำให้เกิดภาวะภูมิต้านทานด้อยลง (Immunocompromise)

โรคเบาหวานคืออะไร


โรคเบาหวาน


โรคเบาหวาน คืออะไร
       โรคเบาหวาน ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า “Diabetes Melitus” เป็นโรคที่มีความผิดปกติของร่างกายในการนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงาน (Glucose Utilization) ซึ่งจริงๆแล้วสามารถแบ่งแยกย่อยได้หลายชนิด ทางการแพทย์มี 5-6 ชนิด แต่ที่รู้จักกันมี 2 ชนิด คือ
 1. DM type I ซึ่งพบน้อยประมาณ 10%
 2. DM type II พบประมาณ 90%

       โรคเบาหวาน


ความแตกต่างระหว่างโรคเบาหวาน 2 ชนิด

       DM type I โรคเบาหวานชนิดที่หนึ่ง เป็นความผิดปกติของการสร้างฮอร์โมนที่เรียกว่า อินซูลิน (Insulin) คือไม่สามารถสร้างได้ เนื่องจากเซลล์ที่อยู่ในตับอ่อนหรือBeta cell ถูกทำลาย ฉะนั้นการรักษาในทางการแพทย์ตะวันตก เนื่องจากไม่มีอินซูลิน จึงต้องใช้อินซูลินฉีดเข้าไปเพื่อทดแทน

       DM type II โรคเบาหวานชนิดที่สอง พบมากกว่าชนิดDM type I และปัญหามากต่อทางด้านความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากมีความผิดปกติทางร่างกายที่ทำให้มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน พูดง่ายๆ ก็คือ ร่างกายยังผลิตอินซูลินได้บ้าง แต่ว่าอินซูลินที่ผลิตออกมานั้นร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อฤทธิ์ของมันได้ ฉะนั้นการรักษาเบาหวานประเภทนี้ใช้ได้ 2 แบบ คือ
1. ใช้ในการฉีดอินซูลินเข้าไปทดแทน ในกรณีที่อินซูลินแทบจะทำงานไม่ได้
2. ใช้การกินยาเข้าไป การกินยาก็มีหลายชนิด มีชนิดหนึ่งไปกระตุ้นให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น ลดภาวะการดื้อต่ออินซูลินหรือเพิ่มการหลั่งอินซูลินจากเบต้าเซลล์